IoT (Internet of Things) - การใช้งานบนมิเตอร์น้ำ (ตอนที่ 2)
ในบทความที่แล้วเราได้เกริ่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับ Iot Solution ในหัวข้อ IoT (Internet of Things) – การนำมาใช้อ่านค่า Smart Solution ต่างๆ (ตอนที่ 1) กันไปแล้วนะครับ ซึ่งทำให้เราได้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ Smart Solution ต่าง ๆ ได้หลากหลายมาก ๆ สำหรับบทความนี้ผมจะขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในรูปแบบ Smart City กันบ้างครับ
Smart City เป็นส่วนที่นำเทคโนโลยีประเภทนี้มาใช้มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ โดยหลักการ Smart City นั้นมีหลักการที่หลากหลายองค์ประกอบมาก ๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้า, ระบบขนส่ง, ระบบกล้องวงจรปิด, ระบบตรวจวัดอากาศ และ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ และ ในบทความนี้ผมจะยกตัวอย่างถึง การนำเทคโนโลยี Iot Solution มาใช้กับระบบมาตรวัดน้ำหรือมิเตอร์น้ำครับ
ในระบบมิเตอร์น้ำแบบเดิม จะใช้เป็นรูปแบบชุดใบพัดที่ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงดันน้ำ แล้วไปหมุนชุดตัวเลขเพื่อแสดงผลการนับปริมาตร แต่ในการอ่านค่านั้นมีความลำบากและค่อนข้างใช้ทรัพยากรแรงงานในการอ่านค่า ในการติดตั้งมิเตอร์น้ำหรือมาตรวัดน้ำในเมืองนั้นจะถูกติดตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ อาทิ บ้านเรือนที่พักอาศัย ,อาคารสำนักงาน, หรือสถานที่ต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปของเมือง ซึ่งการอ่านค่านั้นจึงต้องใช้คนออกไปยังสถานที่นั้น ๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์มาตรวัดน้ำไว้เพื่ออ่านค่าจากหน้าปัด
ทำให้เกิดปัญหาของการอ่านค่าแบบดั้งเดิมที่การประปาหรือหน่วยงานที่ดูแลในการจัดเก็บจะส่งเจ้าหน้าที่ไปจด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ Human error เช่น การอ่านค่าผิด, การจดผิด ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะทราบก็ต่อเมื่อข้อมูลที่ส่งไปเรียกเก็บเงินถูกทักท้วงจากลูกค้า แต่ก็ไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้แล้วเนื่องจากมิเตอร์น้ำได้นับปริมาตรต่อไปจากจุดนั้นแล้ว
ในปัจจุบัน ทางผู้ผลิตมิเตอร์น้ำได้นำนวัตกรรมการสื่อสารในรูปแบบ Iot เข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งถูกเรียกว่า Smart water meter ทำให้ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ และ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบริการจัดการข้อมูล และ การจัดการปัญหาในระบบสาธารณูปโภคได้อีกด้วย
มาตรวัดน้ำในปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนมาอยู่ในรูปแบบดิจิตอลฟังก์ชั่น ทำให้การอ่านค่าและ แสดงผล รวมถึงการส่งค่าการวัดปริมาตรไปยังส่วนควบคุม และ เก็บข้อมูลระยะไกลได้ผ่านการสื่อสารในรูปแบบคลื่นความถี่ต่างๆ ที่สามารถส่งสัญญาณระยะไกลได้ ซึ่งสำหรับการนำแนวคิด Iot มาใช้ในโลกตอนนี้คือ ระบบ LoRawan และ NBIot ครับ ซึ่ง LoRawan ได้รับความนิยมในงานลักษณะนี้มาก LoRaWAN เป็นโปรโตคอลเครือข่าย IoT ที่นำเสนอโดย LoRa ซึ่งใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตทำให้เกือบทุกคนสามารถตั้งค่าเครือข่ายของตนเองได้ในราคาประหยัด
LoRaWAN ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การสื่อสารระยะไกลระหว่างเซ็นเซอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและ Gateway IoT ที่สามารถนำไปใช้งานได้ในระยะ 10 – 20 กม.