IoT (Internet of Things) - มิเตอร์น้ำกับระบบสื่อสารด้วย NB-IoT (ตอนที่ 4)
NB-IoT ย่อมาจาก Narrowband IoT ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบโครงข่ายที่ใช้พลังงานต่ำอีกรูปแบบนึงที่ได้รับการพัฒนาควบคู่มากับเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์มือถือไร้สาย เมื่อความเร็วในการส่งข้อมูลมีการพัฒนาให้มีความรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ยุค 3G, 4G, และปัจจุบันได้ก้าวมาสู่ยุค 5G แนวคิดการนำระบบ Cellular มาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้โดยผ่านโครงข่ายของสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าให้อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย เทคโนโลยีนี้คือ การนำอุปกรณ์ในแบบ IoT มาเชื่อมต่อกันบนคลื่นโทรศัพท์มือถือนั่นเอง ซึ่งข้อดีของ NB-IoT ที่น่าสนใจคือ แม้จะอยู่ในจุดที่ไกลกัน เราก็สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้ เพียงแค่มีซิม (SIM) ติดตั้งในอุปกรณ์นั้นๆ
ข้อดีของ NB-IoT มีดังนี้
- ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ
- ส่งข้อมูล uplink ในขนาดที่เหมาะสม จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี
- รองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
- รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 กิโลเมตร รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบัน และ 5G ในอนาคต
ผู้ให้บริการ NB-IoT ในไทยมีใครบ้าง
ณ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 รายที่ให้บริการ คือ True และ AIS
NB-IoT Solution ของ AIS
รูปภาพจาก https://business.ais.co.th/iot/index.html
NB-IoT Solution ของ TRUE
ณ ปัจจุบันนี้ในทางอุตสาหกรรม อาจจะยังไม่มีการนำมาประยุกต์ใช้มากนัก แต่ก็เริ่มมีผู้จำหน่ายอุปกรณ์ที่รองรับ NB-Iot มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เริ่มมี Smart City, Smart farm, Smart Building, Smart Transport นำเทคโนโลยีการสื่อสารนี้มาใช้งานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในฐานะผู้นำเสนอ Solution Smart Water Meter (มิเตอร์น้ำอัจฉริยะ)เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่เกี่ยวกับ Smart Solution และ IoT เรามุ่งมั่นในการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภค และหวังว่าการไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาและค้นหาสินค้าด้านเทคโนโลยีของเรา จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาก้าวไปสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างทันท่วงที และ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเพื่อประเทศของเราต่อไปครับ